สะพานข้ามแม่น้ำคานเป็นสะพานชุมชน ตั้งอยู่ในอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ดังแสดงในแผนที่ รูปที่ 1 สะพานแห่งนี้เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก มี 2 ช่องจราจร ยาว 60 เมตร แบ่งออกเป็น 6 ช่วงความยาวช่วงละ 10 เมตรมีฐานรากจำนวนทั้งหมด 7 ตอม่อ


โดยตอม่อที่ 2 ถึง 6 รวม 5 ตอม่อตั้งอยู่ในน้ำ โดยตอม่อสะพานเป็นตอม่อแบบเสาเข็มเดี่ยว (Pile
Bent) สะพานแห่งนี้ก่อสร้างเสร็จและถูกเปิดใช้งานมากว่า 25 ปี และจากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ตอม่อตับที่ 5 ที่อยู่ช่วงกลางลำน้ำได้เกิดการทรุดตัวอันเนื่องจากการที่ดินใต้ฐานรากถูกกัดเซาะโดยกระแสน้ำทำให้เสียค่ากำลังรับน้ำหนักของดินเนื่องจากแรงเสียดทาน
อย่างไรก็ตามสะพานนี้เป็นสะพานของชุมชน แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหางที่ซับซ้อน
เกินความรับผิดชอบของหน่วยงานชุมชน กรมทางหลวงชนบท โดยผู้ขอรับการประเมินจึงได้ทำการออกแบบเพื่อซ่อมแซมและดีดยกระดับสะพาน ซึ่งใช้วิธีการเสริมความแข็งแรงของฐานรากใหม่โดยใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Pile) มาประยุกต์ใช้กับการซ่อมแซมสะพาน ทำให้ตัวสะพานมีความมั่นคงแข็งแรงกว่าเดิมและปลอดภัย ในการสัญจร อีกทั้งระหว่างการก่อสร้างยังสามารถเปิดใช้งานจราจรให้มีการสัญจรไปมาได้


ในการพิจารณาการแก้ไขปัญหาสะพานทรุดดังกล่าว ต้องทำการประเมินความเสียหายของตัวสะพานเพื่อเลือกแนวทางการแก้ไขที่ต้องสอดคล้องกับสภาพพื้นที่การทำงาน งบประมาณ สภาพการเดินทาง ของคนในพื้นที่และการขนส่งของภาคธุรกิจต่างๆ ทั้งนี้เพราะสะพานดังกล่าวตั้งอยู่บนเส้นทางหลักในการเดินทางเข้าสู่ตัวอำเภอท่าลี่
ซึ่งการแก้ไขหากพิจารณาทำการก่อสร้างสะพานใหม่อาจจะต้องใช้งบประมาณที่สูง อีกทั้งยังทำให้
การเดินทางเข้าออกในพื้นที่เกิดปัญหาเนื่องจากการก่อสร้างต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรและโดยวิธีทั่วไปที่เลือกใช้สำหรับการซ่อมฐานรากสะพานในประเทศไทยคือการสร้างโครงเฟรม (Portal Frame) คร่อมฐานรากเดิมดังตัวอย่างที่แสดง
และอีกวิธีคือการทำเสาเข็มเจาะ (Drilled Shaft) โดยทำการเจาะเสาเข็มไปยังระดับความลึกของชั้นดินแข็งที่ต้องการ ตามขั้นตอนที่แสดง

ตามวิธีการแก้ไขที่ได้กล่าวมาทั้ง 2 วิธีนั้น เมื่อพิจารณาแล้วยังคงไม่เหมาะสมกับการซ่อมแซมสะพานโครงการนี้ เนื่องจาก วิธีแรกต้องทำการสร้างโครงสร้างฐานรากใหม่และโครงสร้างอื่นที่ต้องใช้รองรับโครงสร้างสะพานเดิม ทำให้ต้องใช้งบประมาณจำนวนไม่น้อย ถ้าเลือกใช้วิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 7,500,000 บาท และวิธีที่สอง ในทำเสาเข็มชนิดนี้ต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างมากเนื่องจากต้องใช้ปั้นจั่นขนาดใหญ่และอุปกรณ์ต่างๆ มากมายที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ของสะพานชุมชนที่อยู่ห่างไกล โดยผู้ขอรับการประเมินจึงได้พิจารณาว่า ถ้าหากใช้ไมโครไพล์ ตามรูปที่ 6 มาประยุกต์ใช้กับการซ่อมแซมสะพาน จะทำให้การทำงานมีความสะดวกและมีประสิทธิภาพในการก่อสร้าง
ทั้งนี้ข้อได้เปรียบในการใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์คือสามารถเปิดใช้งานจราจรในขณะก่อสร้างได้
และมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า ซึ่งการซ่อมแซมวิธีนี้จะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 4,500,000 บาท และใช้ระยะเวลาโครงการ 200 วัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางอื่นแล้ว การซ่อมแซมตอม่อสะพานที่ทรุดด้วยเสาเข็มชนิดสปันไมโครไพล์ จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด

– ความรู้ด้านวิชาการด้านวิศวกรรม ในงานเฉพาะด้านได้รับการถ่ายทอดสู่บุคลากรของหน่วยงานเพื่อการพัฒนาขององค์กรที่มีคุณภาพ
– เป็นหน่วยงานใช้งบประมาณของทางราชการในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
– ปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของหน่วยงานรัฐและประชาชนในพื้นที่มีความเข้าใจ ประชาชนพร้อมเข้าใจสนับสนุนการดำเนินงาน